วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 5 : เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ (2)



          สวัสดีค่ะวันนี้เรามาทำความรู้จักกับทีมฟุตบอลและนักฟุตบอลที่แสนชื่นชอบของทิพย์กันดีกว่า แหม่ทีมนี้พี่รักกกกกส์สุดหัวใจเลยจ้า....





    ชื่อเต็ม Manchester United Football Club
     ฉายา ปิศาจแดง
     ก่อตั้ง ค.ศ. 1878 (ในชื่อ นิวตัน ฮีธ)
     สนาม โอลด์แทรฟฟอร์ด แมนเชสเตอร์ (ความจุ: 76,765 ที่นั่ง)
     เจ้าของ มัลคอล์ม เกลเซอร์
     ประธาน โจเอล เกลเซอร์, อัฟราม เกลเซอร์
     ผู้จัดการ เดวิด มอยส์




          แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ฟุตบอล คลับ เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1870 เมื่อพนักงานการรถไฟกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งทีมฟุตบอลขึ้นมา ซึ่งพวกเขาใช้ชื่อว่า เดอะ แลงคาเชียร์ แอนด์ ยอร์คเชียร์ เรียลเวย์ ฟุตบอล คลับ และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น นิวตัน ฮีธ ในปี 1878 โดยพวกเขาพยายามเข้าร่วมฟุตบอลลีกถึงสองครั้งแต่ก็ล้มเหลว เพราะไม่มีสโมสรใดให้การสนับสนุน แต่ในที่สุดพวกเขาก็ได้รับการยอมรับเมื่อฟุตบอลลีกมีการแบ่งออกเป็นสองดิวิชั่นในเวลาต่อมาไม่นาน

Newton Heath in 1892.

          เกมลีกนัดแรกในประวัติศาสตร์ของ นิวตัน ฮีธ คือ ดารมพ่ายแพ้ต่อ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส 3-4 แต่ชัยชนะนัดแรกก็มาถึงในไม่ช้า เมื่อพวกเขาจัดการถล่มเอาชนะ วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส ไปได้ถึง 10-1 แต่หลังจากนั้นทีมกลับทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวัง เมื่อคว้าชัยชนะได้เพียงแค่ 6 จาก 30 นัดเท่านั้น จนทำให้พวกเขาตกไปอยู่ในอับดับบ๊วยของตาราง แต่พวกเขาก็รอดการตกชั้นได้ หลังจากที่เอาชนะ สมอลล์ ฮีธ ไปได้ 5-2 ที่สนาม บรามอลล์เลน
          แต่ในปีต่อมาทีมยังคงเล่นแย่เหมือนเดิมและต้องตกชั้นไปในที่สุด โดยแม้จะมีการยุบลีก และตั้งขึ้นมาใหม่ แต่ทีมก็มีปัญหาในการเข้าร่วมลีกอีกครั้ง เนื่องจากสถานะทางการเงินที่ไม่ดีนัก ก่อนที่พวกเขาจะล้มละลายเมื่อเข้าปี 1902 โชคดีที่มีผู้อำนวยการโรงกลั่นเบียร์ที่ชื่อ จอห์น เดวี่ส์ มาลงทุนกับสโมสร ทำให้เขากลายเป็นผู้อำนวยการ และประธานสโมสรในท้ายที่สุด จากนั้นทีมก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
          และอีกไม่นาน เออร์เนสต์ แมกนัลล์ ก็ถูกแต่งตั้งให้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมคนแรกของทีมในปี 1903 โดย แมกนัลล์ ได้นำพาไต่ขึ้นมาจากดิวิชั่น 2 ได้ และจากสไตล์การเล่นที่รวดเร็ว และ สวยงาม ในฤดูกาล 1907-08 "ปีศาจแดง" ก็สามารถคว้าแชมป์ลีกมายังถิ่น โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร แถมในปีถัดมาพวกเขายังคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ไปครองได้อีกต่างหาก

The 1908 championship-winning side.

          แต่หลังจากที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ประสบปัญหาจนได้ เมื่อสนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เกิดใช้การไม่ได้ รวมถึงนักเตะบางคนก็อายุมากขึ้น ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่โดยการเซ็นสัญญากับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ทีมร่วมเมือง เพื่อขอใช้สนาม เมน โร้ด เป็นสนามเหย้า พร้อมกับแต่งตั้ง แม็ตต์ บัสบี้ เป็นผู้จัดการทีมชุดนั้น แต่ใครจะไปรู้ได้ว่าชายผู้นี้แหละที่ได้สร้าง "เร้ด เดวิลส์" ให้กลับขึ้นมาผงาดอีกครั้ง เมื่อเขาพาทีมที่มีเด็กท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบหลักคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาล 1951-52 และบับจากนั้นมันก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุค บัสบี้ เบ๊บส์ อันยิ่งใหญ่
แชมป์ลีกในฤดูกาล 1955-56 ตกเป็นของพวกเขา และในฟุตบอลยุโรป บัสบี้ ก็สามารถพาทีมลุยเข้ารอบ ยูโรเปี้ยน คัพ และไปถึงรอบรองชนะเลิศ ได้สำเร็จก่อนที่จะตกรอบไป แต่ยังดีที่พวกเขาคว้าแชมป์ดิวิชั่นหนึ่งได้อีกสมัย และจะได้กลับมายุโรปใหม่ในปีหน้า แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่คิดเมื่อสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มาประสบอุบัติเหตุครั้งใหญ่ เมื่อเครื่องบินโดยสารทีมที่ลงจอดในกรุงมิวนิค เกิดอุบัติเหตุขณะกำลังบินขึ้นฟ้า ส่งผลให้ผู้เล่นของทีม 8 รายเสียชีวิตทันที และนั่นก็เป็นโศกนาฏกรรมที่สะเทือนใจที่สุดในวงการกีฬาทั่วโลกในขณะนั้น


the Munich air disaster

          หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว แม็ตต์ บัสบี้ ได้ทำการตัดสินใจสร้างทีมขึ้นมาใหม่เพื่อสานฝันที่จะคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ ให้ได้ โดยแกนนำยังเป็นนักเตะที่รอดชีวิตมาจากเหตุการณ์เครื่องบินตก รวมกับผู้เล่นจากทีมสำรอง, ทีมเยาวชน และนักเตะที่ซื้อเข้ามาใหม่ จนทีมเริ่มกลับมาแข็งแกร่งขึ้นตามลำดับ และเมื่อฝันร้านร้ายได้ผ่านไปพวกเขาก็กลับมาคว้าแชมป์ได้อีกครั้งในถ้วย เอฟเอ คัพ ปี 1963 ซึ่งในฤดูกาลนั้นเองนักเตะอย่าง จอร์จ เบสต์ ,เดนนิส ลอว์ และ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน แจ้งเกิดขึ้นมาได้สำเร็จ และดูเหมือนช่วงนี้จะเป็นเวลาที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร เมื่อพวกเขาคว้าแชมป์ลีกมาครองได้ 2 สมัยในรอบ 3 ปีหลัง และแน่นอนเป้นหมายต่อไปของพวกเขาย่อมอยู่ที่ ยูโรเปี้ยน
          จนในที่สุดความฝันของ แม็ตต์ บัสบี้ ก็เป็นจริง เมื่อ ลูกทีมของเขา ไล่ถล่มเอาชนะ เบนฟิก้า ทีมชื่อดังของเมืองฝอยทองซึ่งนำทัพมาโดย ยูเซบิโอ นักเตะชื่อก้องโลก ไปได้ที่สนาม เวมบลีย์ ด้วยสกอร์ 4-1 และคว้าแชมป์ถ้วยสโมสรใบใหญ่สุดของยุโรปไปได้อย่างงดงาม ก่อนที่ บัสบี้ จะวางมือในเวลาต่อมาซึ่งนั่นดูเหมือนว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของทีมอีกครั้ง เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1970 วิลฟ์ แม็คกินเนสส์, แฟร้งค์ โอ ฟาร์เรลล์ และ ทอมมี่ ด็อคเคอร์ตี้ ที่เข้ามารับงานต่อจากเซอร์บัสบี้ ต่างก็ทำผลงานได้ย่ำแย่จนทีมต้องตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชั่น 2 ในเวลาไม่นาน
          ช่วงทศวรรษ 80 หลังจากที่ ยูไนเต็ด กลับมาขึ้นมาในลีกสูงสุดอีกครั้ง พวกเขาก็ยังสร้างผลงานได้ไม่เป็นที่น่าประทับใจนัก ทำให้ทางเบื้องบนได้ตัดสินใจที่จะดึงตัว รอน แอ๊ตกินสัน เข้ามาคุมทีมแทนที่ของ เดฟ เซ็กซ์ตัน ในปี 1981 โดยบิ๊กรอน ได้นำนักเตะใหม่หลายคนเข้ามาสู่ทีม โดยเฉพาะในรายของ ไบรอัน ร็อบสัน กองกลางชาวอังกฤษที่เขาจ่ายเงินกว่า 1.5 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 105 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตัวนั้นถือเป็นการซื้อที่เป็นสถิติการย้ายทีมของเกาะอังกฤษในเวลานั้นเลย แต่หลังจากนั้น ร็อบสัน ก็แสดงให้เห็นว่าเขาเล่นได้คุ้มค่าตัวทุกเพนนี แต่การเปลี่ยนแปลงในรั่ว โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ก็ยังไม่หยุดลงแค่นี้ เมื่อทางบอร์ดบริหารได้เห็นตรงกันว่า การคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ 2 สมัย นั้นไม่เพียงพอต่อสโมสรระดับนี้ ส่งผลให้ตำแหน่งผู้จัดการทีม ยูไนเต็ด เปลี่ยนมือมาจาก แอ๊ตกินสัน ไปสู่ผู้จัดการทีมคนใหม่ที่ชื่อว่า อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน


Alex Ferguson in 1986

          งานชิ้นใหม่ของ "เฟอร์กี้" ในถิ่น โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เขาต้องเผชิญหน้ากับแรงกดดันที่มากมาย และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ผู้จัดการทีมคนก่อนอย่าง แอ๊ตกินสัน ต้องกระเด็นตกเก้าอี้ไป แน่นอนว่าแค่แชมป์เอฟเอ คัพ อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความทะเยอทะยานและความต้องการของสโมสรยักษ์ใหญ่อย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้ และงานนี้ของ "เฟอร์กี้"ก็ดูท่าจะต้องพบกับความยากลำบาก เมื่อยุคนั้น ลิเวอร์พูล อริตัวฉจากของทีมกำลังครองความยิ่งใหญ่ในประเทศอยู่ โดยมี อาร์เซน่อล และ เอฟเวอร์ตัน เป็นอีกสองทีมที่พอฟัดพอเหวี่ยง
          18 เดือนแรกของ เฟอร์กี้ นั้นก็ดูจะผ่านไปได้อย่างราบรื่น เมื่อ ยูไนเต็ด จบซีซั่นอันดับสองของลีกในปี 1988 เป็นรองแค่ ลิเวอร์พูล ทีมเดียวเท่านั้น ทว่าหลังจากจุดสูงสุดครั้งนั้น ปีศาจแดง ต้องกลับมาประสบปัญหาอีกครั้ง ความพ่ายแพ้ยับเยิน 1-5 รวมถึงการพ่ายต่อเพื่อนร่วมเมืองอย่าง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในเดือนพฤศจิกายน 1989 ซึ่งนั่นเป็นเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกระแสเรียกร้องให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง โดยปีนั้นจบปีด้วยอันดับ 11 ของตาราง
          แต่หลังจากเหตุการณ์นั้นทุกอย่างก็ดูเปลี่ยนไป และถ้าหากเรามาดูกันความสำเร็จในปัจจุบันต้องถือว่าการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุดของบอร์ดปีศาจแดงที่ปล่อยให้ เฟอร์กูสัน ทำงานพิสูจน์ฝีมือต่อนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งประตูชัยของ มาร์ค โรบินส์ ในเกมเอฟเอ คัพ รอบ 3 ที่ น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ในเดือนมกราคม 1990 เปรียบเสมือนเป็นการปลุก "เร้ด เดวิลส์"ให้กลับสู่ยุคทองของสโมสรอีกครั้ง
ซึ่งแชมป์แรกของพวกเขาภายใต้การนำทีมของ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ก็เกิดขึ้นจากการคว่ำ คริสตัล พาเลซ ในรอบชิงชนะเลิศ นัดรีเพลย์ ศึก เอฟเอ คัพ จากนั้นในปี 1991 ถ้วยใบที่สองก็ตามมาติดๆ เมื่อ ยูไนเต็ด ปราบยักษ์ใหญ่จาก สเปน อย่าง บาร์เซโลน่า ไปได้ในนัดชิงชนะเลิศศึก คัพ วินเนอร์ส คัพ ที่ร็อตเตอร์ดัม ได้สำเร็จ
          อย่างไรก็ตาม เฟอร์กี้ นั้นก็รู้ดีว่าตำแหน่งแชมป์ลีกที่เขายังทำไม่ได้นั้นเป็นเป้าหมายสูงสุดของทีมในเวลานั้น แต่พวกเขาก็ต้องผิดหวังอีกครั้งเมื่อในปี 1992 เมื่อพวกเขาถูก ลีดส์ ยูไนเต็ด แซงแย่งแชมป์ไปแบบพลิกความคาดหมาย โดยที่ปีเดียวกันทีมก็มีถ้วยรางวัลปลอบใจติดมือมา 1ใบคือ ลีก คัพ


Eric Cantona in 1992

          พฤศจิกายน 1992 การเข้ามาของ เอริก คันโตน่า ก็เปรียบเสมือนเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของ เฟอร์กี้ ในการไล่ล่าแชมป์ ที่ปีศาจแดง รอคอยมานานถึง 26 ปี โดยทีมสามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ชิพในปี 1993 มาครองได้สำเร็จ และหลังจากวันนั้นทีมก็เปล่งประกายของการเป็นทีมฟุตบอลที่ดีสุดในประเทศอีกครั้ง เมื่อพวกเขาคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้ในปี 1994 ได้อบบต่อเนื่อง แถมยังเกือบเป็นทริปเบิ้ลแชมป์ด้วย หากไม่เพราะความพ่ายแพ้ในนัดชิงชนะเลิศถ้วย ลีก คัพ
          แต่จากการขาด เอริก คันโตน่า ในฤดูกาลถัดมา เนื่องจากติดโทษแบนจากการไปมีเรื่องกับแฟนบอลพาเลซ ซึ่งนั้นก็ดูเหมือนจะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อการพลาดดับเบิ้ลแชมป์อีกสมัยของทีม เมื่อ ยูไนเต็ด พลาดท่าในลีกต่อ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส ในเกมสุดท้าย และก็ต่อด้วยการพ่ายให้กับ เอฟเวอร์ตัน ในเกมนัดชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ ในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา พอถึงช่วงซัมเมอร์ปี 1995 บรรดาผอง เร้ด อาร์มี่ ก็ต้องช็อกกับเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ เฟอร์กี้ จัดการเปลี่ยนแปลงทีมครั้งใหญ่ ด้วยการขายผู้เล่นชั้นดีอย่าง พอล อินซ์, มาร์ค ฮิวจ์ส และ อังเดร แคนเชลสกี้ส์ ออกจากทีมเวลาไล่เลี่ยกัน แล้วหันมาใช้งานบรรดาดาวรุ่งรุ่นใหม่ของทีมอย่าง เดวิด เบ็คแฮม, สองพี่น้องเนวิลล์ ,พอล สโคลส์ และ นิคกี้ บัตท์
          เรื่องนี้ที่อังกฤษมีการพูดถึงกันอย่างมากถึงการกระทำของ เฟอร์กี้ ครั้งนี้ แต่บรรดาดาวรุ่งทั้งหลายก็ช่วยลบคำสบประมาทและเสียงก่นด่าให้กับเจ้านาย ด้วยการนำปีศาจแดง ครองดับเบิ้ลแชมป์สมัยที่ 2 ได้เป็นทีมแรกของประเทศ ในปี 1997 ยูไนเต็ด ยังคงรักษาตำแหน่งทีมอันดับหนึ่งของประเทศไว้ได้ต่อไป แต่เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลพวกเขาก็ต้องพบกับการสูญเสียนักเตะคุณภาพไปอีกหนึ่งรายหลังจากที่ เอริก คันโตน่า ประกาศอำลาสังเวียนอย่างช็อกคนทั้ง โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด
          ในฤดูกาลถัดมา แม้พวกเขาจะนำโด่งเป็นจ่าฝูงจนเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย แต่จากอาการบาดเจ็บของนักเตะตัวหลักหลายราย ส่งผลให้ อาร์เซน่อล ที่เดินหน้าคว้าชัยชนะ 10 เกมติด แซงหน้าเข้าป้ายคว้าแชมป์ไปอย่างเจ็บแสบ และนอกจากนี้ไอ้ปืนใหญ่ ยังตีเสมอสถิติดับเบิ้ลแชมป์ 2สมัยได้ด้วย หลังจากเอาชนะ นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด คู่ชิงในเอฟเอ คัพไปได้สำเร็จ


United players parade the UEFA Champions League trophy

          1998-99 ฤดูกาลที่ได้ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ลูกหนังอังกฤษ และคาดว่าจะอยู่ในความทรงจำของชาวแฟน ปีศาจแดง ไปอีกนานเท่านาน เมื่อ เฟอร์กี้ ทุ่มเงินจำนวน 27 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 2,025 ล้านบาท ในคว้า 3 ดาวเตะตัวใหม่อย่าง ดไวท์ ยอร์ค, ยาป สตัม และ เยสเปอร์ บลอมควิสต์ มาเสริมทัพ และเงินทุกเพนนีที่จ่าไปเมื่อต้นซีซั่นนั้นก็ถูกตอบแทนด้วยผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมาย เมื่อ แมนฯ ยูไนเต็ด ได้ประกาศความยิ่งใหญ่ให้ทุกคนรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่แค่สุดยอดสโมสรในระดับประเทศเท่านั้น เมื่อพวกเอาชนะ บาเยิร์น มิวนิค ยักษ์ใหญ่จากเยอรมัน ได้ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บในศึก ยูโรเปี้ยน คัพ พร้อมกับคว้าทริปเบิ้ลแชมป์ได้อย่างมหัศจรรย์
          สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นความทรงจำที่ดีของทีมไปอีกนานเท่านาน แต่อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วโลกลูกหนังนั้นก็ไม่สามารถมาหยุดกับความสำเร็จในอดีตได้เลย ซึ่ง เฟอร์กูสัน เองก็รู้เรื่องนี้ดี ทำให้เขาเริ่มที่จะถ่ายเลือดใหม่อีกครั้ง ซึ่งแม้แต่ เดวิด เบ็คแฮม ที่เคยเป็นกำลังสำคัญของทีมก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องออกจากถิ่น โอลด์แทร็ฟฟอร์ดไป สู่ รีล มาดริด
          พร้อมกันนี้ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ มัลคอล์ม เกลเซอร์ มหาเศรษฐีชาวสหรัฐฯ เจ้าของทีม แทมป้า เบย์ บัคคาเนียร์ส ในศึกอเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอล ได้เข้ามาเทคโอเวอร์กิจการของสโมสรต่อจาก มาร์ติน เอ็ดเวิร์ด เจ้าของทีมคนเก่า และรวบรวมหุ้นมาสู่กำมือของตระกูลแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งการเข้ามาคุมสโมสรของตระกูล เกลเซอร์ ครั้งนี้ก็ดูเหมือนว่าจะสร้างความ โกรธแค้นให้กับแฟนบอลบางส่วนมากทีเดียวขนาดที่ว่า แยกออกไปตั้งสโมสรอีกหนึ่งทีมหนึ่งเลยทีเดียว

ผู้จัดการทีม


ประวัติผู้รักษาประตู

กองหลัง

กองกลาง

กองหน้า

เกียรติยศ




_______________________________________________________________

อ้างอิง  

  • http://www.glory-manutd.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A8/
  • http://www.glory-manutd.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%94/
  • http://www.glory-manutd.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B9/

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ( ภาษาC )


โปรแกรมภาษา  C


       อะโลฮ่า!!! สวัสดีค่ะทุกคน พบกับทิพย์เช่นเคยนะคะ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง ภาษาซี บางคนนี่ยังไม่เก็ทเลย อะไรภาษาซี? นี่พูดถึงอะไรกัน แต่ทิพย์ว่าก็คงไม่แปลกหรอกนะที่บางคนไม่รู้จักกับโปรแกรมภาษาซี แต่ในวันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับเจ้าภาษาซีนี้อย่างคร่าวๆ อาจจะทำให้บางคนถึงบางอ้อเลยทีเดียว เรื่องใกล้ตัวที่มองข้ามใช่ไหมละ งั้นเราเข้าเรื่องกับเลยดีกว่า


ภาษาซี ?
           ภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1972 ผู้คิดค้นคือ Dennis Rittchie โดยพัฒนามาจากภาษาB และ ภาษา BCPLแต่ยังไม่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางนัก ในปี ค.ศ. 1978 Brain Kernighan ได้ร่วมกับ Dennis Ritchie มาพัฒนามาตรฐานของภาษาซี เรียกว่า K&R ทำให้มีผู้สนใจเกี่ยวกับภาษาซีมากขึ้น จึงเกิดภาษาซีอีกหลายรูปแบบเพราะยังไม่มีการกำหนดรูปแบบภาษาซีที่เป็นมาตรฐาน และในปี1988 Ritchie จึงได้กำหนดมาตรฐานของภาษาซีเรียกว่า ANSI C เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดมาตรฐานในการสร้างภาษาซีรุ่นต่อไปภาษาซี เป็นภาษาซีระดับกลางเหมาะสมสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นมากคือใช้งานได้กับเครื่องต่างๆ ได้และปัจจุบันภาษาซีเป็นภาษาพื้นฐานของภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ๆ เช่น  C++


( ภาพจาก : http://www.krujintana.com/content/unit3.html )

นายเดนนีส ริทชี (Dennis Ritchi) ผู้คิดค้นภาษาซี



โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี และตัวอย่าง
  • โปรแกรมในภาษาซีทุกโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ
  • Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number
  • Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้

( ภาพจาก : http://slideplayer.in.th/slide/1913505/ )






          ใช้ Program  Editor  เขียนโปรแกรมภาษาซีและบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .c  เช่น  Test.c





          จะทำการแปลงซอร์สไฟล์ จากอักขระใด ๆ ให้เป็นรหัสที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้เก็บไว้ในอีกไฟล์หนึ่งเรียกว่า ไฟล์วัตถุประสงค์ (Object file) ที่มีนามสกุล .obj (ขั้นตอนนี้เรียกว่า การคอมไพล์ เป็นการแปลงภาษามนุษย์เป็นภาษาเครื่องนั่นเอง)





          ตัวเชื่อม (Linker) จะทำการตรวจสอบว่าในโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้น มีการเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานใด จากห้องสมุดของภาษาซี (C Library) บ้างหรือไม่ ถ้ามี ตัวเชื่อมจะทำการรวมเอาฟังก์ชันเหล่านั้นเข้ากับไฟล์วัตถุประสงค์ แล้วจะได้ไฟล์ที่สามารถทำงานได้ โดยมีนามสกุลเป็น .exe (ขั้นตอนนี้เรียกว่า การลิงค์ เป็นการรวมฟังก์ชันสำเร็จรูปเข้าไป แล้วสร้างไฟล์ที่ทำงานได้)





          เมื่อนำ executable program จากขั้นตอนที่ 3 มาประมวลก็จะได้ผลลัพธ์(output) ของโปรแกรมออก


สรุปโครงสร้างภาษาซี
ภาษา C เป็นภาษาที่มีมาตรฐานในการเขียนโปรแกรมที่ชื่อว่า ANSI (American National Standards Institute) และภาษา C เป็นภาษาที่มีใช้มาเป็นเวลานาน โดยมีโครงสร้างอย่างง่ายพอสรุปได้ดังนี้
  • มีฟังก์ชันชื่อว่า main( ) อย่างน้อยหนึ่งฟังก์ชัน จึงจะสามารถทำการ execute program ได้
  • ขอบเขตฟังก์ชัน main (delimiters) ในโปรแกรมภาษา C ใช้เครื่องหมาย { แทนการเริ่มต้นฟังก์ชัน และใช้เครื่องหมาย } แทนการสิ้นสุดฟังก์ชัน ดังนั้นเมื่อเขียนฟังก์ชัน main( ) ทุกครั้งจะต้องมีเครื่องหมาย { และ } อยู่ด้วยเสมอ
  • การปิดท้ายคำสั่งในภาษา C จะต้องใช้เครื่องหมาย ; (semicolon) เป็นการบ่งชี้ให้ C compiler ทราบว่าจบคำสั่ง (statement) แต่ละคำสั่งแล้ว
  • ชื่อฟังก์ชันและคำสั่งในภาษา C จะต้องเขียนด้วยตัวอักษรตัวเล็ก (lowercase letter) ทั้งหมดทั้งนี้เพราะ C compiler จะคิดว่าตัวอักษรตัวใหญ่ (uppercase letter) กับตัวอักษรตัวเล็ก แตกต่างกัน เช่น main( ) ไม่เหมือนกับ Main( ) หรือ MAIN( ) เป็นต้น
  • ชื่อตัวแปร (variable name) สามารถตั้งชื่อโดยใช้ ตัวอักษรตัวเล็กหรือตัวอักษรตัวใหญ่ก็ได ้หรือใช้ตัวอักษรตัวเล็ก กับตัวอักษรตัวใหญ่ผสมกันก็ได้
สำหรับขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษา C มีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้คือ 
  • ขั้นตอนเขียนโปรแกรมต้นฉบับ (source program) แล้วบันทึกโปรแกรมพร้อมกับตั้งชื่อแฟ้มไว้ แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล *.c หรือ *.cpp
  • ขั้นตอนแปลโปรแกรมภาษา C ไปเป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (object program) ใช้คำสั่ง compile เพื่อแปลโปรแกรมภาษา C ไปเป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล *.obj ซึ่งในขั้นตอนนี้โปรแกรมต้นฉบับอาจเกิดความผิดพลาดทางไวยกรณ์ภาษา (syntax error) ขึ้นได้ จึงต้องย้อนกลับไปแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับในข้อ 1. ให้ถูกต้องเสียก่อน
  • ขั้นตอนเชื่อมโยง (link) โปรแกรมภาษาเครื่องเข้ากับ library function ของภาษา C จะได้เป็น execute program โดยใช้คำสั่ง link แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล *.exe
  • ขั้นตอนสั่งให้ execute program แสดงผลลัพธ์ออกมา โดยใช้คำสั่ง run
         สำหรับข้อมูลของภาษา C มีดังนี้คือ ตัวอักขระ ค่าคงที่ และตัวแปร ซึ่งในภาษา C ยังมีตัวดำเนินการหรือเครื่องหมาย เพื่อไว้ใช้ในการเขียนโปรกรม ดังนี้ ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการความสัมพันธ์ ตัวดำเนินการเชิงตรรกะ ตัวดำเนินการเพิ่มค่าและลดค่า ตัวดำเนินการบิตไวส์ ตัวดำเนินการกำหนดค่า และตัวดำเนินการแบบเงื่อนไข ซึ่งลำดับการทำงานของตัวดำเนินการ มีความสำคัญในการเขียนโปรแกรม

_________________________________________________________________

อ้างอิง  :  http://www.krujintana.com/content/unit3.html
               http://www.notecyber.com/main/th/Doc/54/Com/c1.pdf
               http://slideplayer.in.th/slide/1927666/#
               http://guru.sanook.com/6394/
               http://www.geocities.com/suwit_0000/index.html
               http://nanotech.sc.mahidol.ac.th/c/basic/index.htm
               http://www.slideshare.net/komkaip/1-34758895